ผู้เขียน: 59-M2-12-24-Thunchanok kao-ian
การสะท้อนของแสงและภาพที่เกิดจากการสะท้อน
การสะท้อนของแสง
การสะท้อนแสงเป็นปรากฏการณ์ที่แสงตกกระทบกับตัวกลาง แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวกลางเดิม ซึ่งปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสงขึ้นอยู่กับพื้นผิวของตัวกลางที่ตกกระทบ
- การสะท้อนแสงบนพื้นผิวเรียบ เมื่อแสงตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนอย่างเป็นระเบียบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ เรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ
- การสะท้อนแสงบนพื้นผิวขรุขระ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุผิวขรุขระ แสงจะสะท้อนอย่างไม่เป็นระเบียบ
กฎการสะท้อนของแสง มี 2 ข้อดังนี้
- รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
– รังสีตกกระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาผิวของวัตถุ – รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ – เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงตกกระทบ
- มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ณ ตำแหน่งที่แสงตกกระทบ
– มุมตกกระทบ (Angle of Incident) คือ มุมที่รังสีกระทบทำกับเส้นปกติ – มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ
ลักษณะการสะท้อนของแสง แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
- การสะท้อนปกติ คือรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติ (เส้นแนวฉาก) จะอยู่ระนาบเดียวกัน รวมทั้งพบว่ามุมตกกระทบและมุมสะท้อนจะมีค่าเท่ากันเสมอ โดยจะเกิดกับวัตถุผิวเรียบ
- การสะท้อนกระจาย เกิดกับวัตถุที่มีผิวขรุขระ ซึ่งแสงจะสะท้อนออกไปหลายทิศทาง เรียกว่า การสะท้อนกระจาย
การเกิดภาพบนกระจก
1. กระจกเงาราบ คือกระจกแบนราบที่มีด้านหนึ่งสะท้อนแสง ดังนั้นภาพที่เกิดขึ้นจึงเป็นภาพเสมือน อยู่หลังกระจก มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุและขนาดภาพเท่ากับขนาดวัตถุภาพที่ได้จะกลับด้านกัน และกลับจากขวาเป็นซ้ายของวัตถุจริง
2. กระจกเงาโค้ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- กระจกเงาโค้งนูน คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านนอกส่วนโค้ง มีปรอทฉาบด้านส่วนเว้า กระจกแบบนี้นำมาใช้เป็นกระจกมองข้างของรถ ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือน ขนาดเล็ก หัวตั้ง และมองเห็นภาพที่กว้างขึ้น หรือนำไปติดที่บริเวณทางเลี้ยว เพื่อให้เห็นรถที่วิ่งมาอีกทาง
- กระจกเงาโค้งเว้า คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านในส่วนโค้ง มีปรอทฉายด้านนอกส่วนนูน นำมาใช้ประกอบกับกล้องจุลทรรศน์ เพื่อช่วยรวมแสงไปตกที่แผ่นสไลด์ ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น หรือวัตถุใดก็ตามที่ต้องการเห็นภาพสะท้อนขนาดใหญ่ขึ้นและชัดเจนขึ้น
การสะท้อนของแสง
การสะท้อนแสงเป็นปรากฏการณ์ที่แสงตกกระทบกับตัวกลาง แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวกลางเดิม ซึ่งปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสงขึ้นอยู่กับพื้นผิวของตัวกลางที่ตกกระทบ
- การสะท้อนแสงบนพื้นผิวเรียบ เมื่อแสงตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนอย่างเป็นระเบียบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ เรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ
- การสะท้อนแสงบนพื้นผิวขรุขระ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุผิวขรุขระ แสงจะสะท้อนอย่างไม่เป็นระเบียบ
กฎการสะท้อนของแสง มี 2 ข้อดังนี้
- รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
– รังสีตกกระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาผิวของวัตถุ – รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ – เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงตกกระทบ
- มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ณ ตำแหน่งที่แสงตกกระทบ
– มุมตกกระทบ (Angle of Incident) คือ มุมที่รังสีกระทบทำกับเส้นปกติ – มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ
ลักษณะการสะท้อนของแสง แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
- การสะท้อนปกติ คือรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติ (เส้นแนวฉาก) จะอยู่ระนาบเดียวกัน รวมทั้งพบว่ามุมตกกระทบและมุมสะท้อนจะมีค่าเท่ากันเสมอ โดยจะเกิดกับวัตถุผิวเรียบ
- การสะท้อนกระจาย เกิดกับวัตถุที่มีผิวขรุขระ ซึ่งแสงจะสะท้อนออกไปหลายทิศทาง เรียกว่า การสะท้อนกระจาย
การเกิดภาพบนกระจก
1. กระจกเงาราบ คือกระจกแบนราบที่มีด้านหนึ่งสะท้อนแสง ดังนั้นภาพที่เกิดขึ้นจึงเป็นภาพเสมือน อยู่หลังกระจก มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุและขนาดภาพเท่ากับขนาดวัตถุภาพที่ได้จะกลับด้านกัน และกลับจากขวาเป็นซ้ายของวัตถุจริง
2. กระจกเงาโค้ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- กระจกเงาโค้งนูน คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านนอกส่วนโค้ง มีปรอทฉาบด้านส่วนเว้า กระจกแบบนี้นำมาใช้เป็นกระจกมองข้างของรถ ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือน ขนาดเล็ก หัวตั้ง และมองเห็นภาพที่กว้างขึ้น หรือนำไปติดที่บริเวณทางเลี้ยว เพื่อให้เห็นรถที่วิ่งมาอีกทาง
- กระจกเงาโค้งเว้า คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านในส่วนโค้ง มีปรอทฉายด้านนอกส่วนนูน นำมาใช้ประกอบกับกล้องจุลทรรศน์ เพื่อช่วยรวมแสงไปตกที่แผ่นสไลด์ ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น หรือวัตถุใดก็ตามที่ต้องการเห็นภาพสะท้อนขนาดใหญ่ขึ้นและชัดเจนขึ้น
สรุปสาระสำคัญ
- การสะท้อนแสงเป็นปรากฏการณ์ที่แสงตกกระทบตัวกลาง แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวกลางเดิม
- การสะท้อนแสงขึ้นกับพื้นผิว
- พื้นผิวของการสะท้อนแสงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย
ภาพ (image) เกิดจากการตัดกันหรือเสมือนตัดกันของรังสีของแสงสะท้อนมาจากกระจกหรือหักเหผ่านเลนส์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. ภาพจริง เกิดจากรังสีของแสงตัดกันจริง เกิดด้านหลังกระจกหรือเลนส์ ต้องมีฉากมารับจึงจะมองเห็นภาพ ลักษณะภาพหัวกลับกับวัตถุ มีทั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เท่ากับวัตถุ และเล็กกว่าวัตถุ ซึ่งขนาดภาพจะสัมพันธ์กับระยะวัตถุ เช่น ภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ เป็นต้น |
|||||
ภาพที่ 12.14 แสดงการเกิดภาพจริง (มานี จันวิมล : 2545, 103) |
|||||
2. ภาพเสมือน เกิดจากรังสีของเสมือนตัดกันทำให้เกิดภาพด้านหน้ากระจกหรือเลนส์ มองเห็นภาพได้โดยไม่ต้องใช้ฉากรับภาพ ภาพมีลักษณะหัวตั้งเหมือนวัตถุ เช่น ภาพเกิดจากแว่นขยาย เป็นต้น | |||||
![]() ภาพที่ 12.15 แสดงการเกิดภาพจากแว่นขยาย (ชัยวัฒน์ การชื่นศรี : 2545, 39) |
|||||
![]() |
|||||
ภาพจากกระจกเงาเกิดจากการสะท้อนของแสงคือ เมื่อแสงจากวัตถุตกกระจกเงา แสงสะท้อนจากกระจกจะพบกัน ทำให้เกิดภาพของวัตถุขึ้น แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. ภาพจากกระจกเงาราบ (plan mirror) เมื่อคนยืนหรือวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ ภาพที่เกิดขึ้นในกระจกเงาราบจะเป็นภาพเสมือนหัวตั้งอยู่หลังกระจก มีระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพ และขนาดของวัตถุเท่ากับขนาดของภาพ แต่มีลักษณะกลับด้านกันจากซ้ายเป็นขวาของวัตถุจริง (ภาพที่ 12.16) |
|||||
![]() (เทเลอร์ บาร์บารา : 2546, 25) |
|||||
2. ภาพจากกระจกเงาผิวโค้ง กระจกผิวโค้งซึ่งเป็นส่วนของวงกลมนั้นมี 2 ชนิด คือ กระจกนูน และกระจกเว้า มีลักษณะการเดินภาพดังภาพที่ 12.17 และ 12.18 | |||||
|
|||||
ภาพที่ 12.17 แสดงการเกิดภาพจากกระจกนูนและกระจกเว้า
ภาพที่ 12.18 แสดงภาพที่เกิดจากกระจกเลนส์นูนและกระจกเว้า |
นัยน์ตากับการมองเห็น
นัยน์ตาและการมองเห็น
1.อวัยวะรับแส ดวงตาช่วยให้เราได้รับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก เมื่อแสงไปกระทบสิ่งต่างๆ จะสะท้อนวัตถุหรือสิ่งของนั้นมาเข้าตาเราและผ่านเข้าในลูกตาไปท ำให้เกิดภาพที่จอตา (retina) ซึ่งอยู่ด้านหลังของลูกตาข้อมูลของวัตถุที่มองเห็นจะถูกส่งขึ้นไปสู่สมองตามเส้นประสาทตา (optic nerve) สมองจะแปลข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้นดวงตาของมนุษย์หรือสัตว์เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รับสัมผัสภาพของ สิ่งต่างๆ ที่มีเซลล์รับภาพที่ไวต่อแสงอยู่ด้านซ้ายของลูกตา ดังนั้นตาจึงต้องมีกระบวนการปรับให้แสงเข้าให้พอเหมาะ เพราะถ้าแสงมีความเข้มมากไปอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์รับแสงได้ 2.การตอบสนองของนัยน์ตาต่อความเข้มของแสง เนื่องจากนัยน์ตาเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสงมาก สามารถรับรู้ได้เมื่อมีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย เช่น แสงจากดวงดาวที่อยู่ไกลในคืนเดือนมืดจนถึงแสงสว่างที่มีปริมาณม าก ทั้งนี้ เนื่องจากเรตินาจะมีเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ 1. เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ทำหน้าที่รับแสงสว่าง (สลัว) ที่ไวมาก สามารถมองเห็นภาพขาว–ดำ เซลล์ รูปแท่งจะไวเฉพาะต่อแสงที่มีความเข้มน้อย โดยจะไม่สามารถจำแนกสีของแสงนั้นได้ 2. เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) จะไวเฉพาะต่อแสงที่มีความเข้มสูงถัดจากความไวของเซลล์รูปแท่ง และสามารถจำแนกแสงแต่ละสีได้ด้วย เซลล์รูปกรวยมี 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีความไวต่อแสงสีปฐมภูมิต่างกัน ชนิดที่หนึ่งมีความไวสูงสุดต่อแสงสีน้ำเงิน ชนิดที่สองมีความไวสูงสุดต่อแสงสีเขียว และชนิดที่สามมีความไวสูงสุดต่อแสงสีแดง เมื่อมีแสงสีต่างๆ ผ่านเข้าตามากระทบเรตินา เซลล์รับแสงรูปกรวยจะถูกกระตุ้น และสัญญาณกระตุ้นนี้จะถูกส่งผ่านประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปรความหมายออกมาเป็นความรู้สึกเห็นเป็นสีของแสงนั้น ๆ ความเข้มของแสงต่อนัยน์ตามนุษย์ ดวงตาของมนุษย์เราสามารถรับแสงที่มีความเข้มน้อยมากๆ เช่น แสงริบหรี่ในห้องมืดๆ ไปจนถึงแสงสว่างจ้าของแสงแดดตอนเที่ยงวัน ซึ่งมีความเข้มของแสงมากกว่าถึง 10 เท่า นอกจากนี้ดวงตายังสามารถปรับให้มองเห็นได้แม้แต่ตัวอักษรที่เป็ นตัวพิมพ์เล็กๆ สามารถบอกรูปร่างและทรวดทรงที่แตกต่างกันในที่ที่มีควมเข้มของแ สงต่างกันมากๆได้ โดยการปรับของรูม่านตา ความเข้มของแสงต่อนัยน์ตาของสิ่งมีชีวิตอื่น การตอบสนองต่อความเข้มแสงต่อนัยน์ตาสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต ่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการดำรงชีวิต – ยูกลีนา ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็ก จะมี eyespot เป็นจุด ทำหน้าที่รับแสงสว่าง – ไส้เดือนดิน มีเซลล์ที่ไวต่อความเข้มของแสงอยู่ที่ผิวหนัง ทำให้มันสามารถรู้ว่าแสงสว่างอยู่ที่ใด – หอย ปลาหมึก กุ้ง ปู แมลง มีอวัยวะรับแสงเจริญดีขึ้น คือ นอกจากรับแสงแล้ว ยังสร้างภาพได้อีกด้วย นัยน์ตาของสัตว์พวกนี้ (ยกเว้นหอย) จัดเป็นตาประกอบ(Compound eyes) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับแสงเล็กๆ เป็นเลนส์จำนวนมาก (แมลงเห็นภาพที่กำลังเคลื่อนไหวได้ชัดกว่าภาพที่อยู่นิ่งๆ ) สัตว์พวกนี้ถ้าอยู่ในที่มีแสงสว่างน้อยหรือความเข้มของแสงมีน้อ ย การมองเห็นจะไม่ชัด ดังนั้น พวกกุ้งและปูที่อาศัยหากินในที่มืด จึงต้องมีการดัดแปลงให้ส่วน pigment มารวมกันอยู่ในตอนใดตอนหนึ่ง เพื่อให้สามารถรับแสงสว่างได้มากขึ้น – สัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เช่น แมว เสือ กระต่าย นกเค้าแมว สามารถออกล่าเหยื่อในคืนที่เกือบมืดสนิท เพราะว่าในเรตินาของสัตว์พวกนี้มีเซลล์ประสาทรูปแท่งมาก ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะทำงานได้ดีในเวลาที่มีแสงสลัวหรือความเข้มข องแสงน้อย ซึ่งภาพที่เห็นจะเป็นภาพเทาหรือดำที่ไม่มีรายละเอียด (สัตว์พวกนี้ตาบอดสี)
นัยน์ตาของมนุษย์และความบกพร่องในการมองเห็น 1.นัยน์ตา ( The human eye) มีรูปร่างเกือบทรงกลม ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังนี้ 1.กระจกตา (Cornea ) อยู่ภายนอกเลนส์ตา มีลักษณะเป็นเยื่อเหนียวใสและบาง 2.ม่านตา (Iris ) เป็นเนื้อเยื่อส่วนที่มีสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาล หรือสีฟ้าแล้วแต่เชื้อชาติ ทำหน้าที่เป็นม่านเปิดรูรับแสงให้ใหญ่หรือเล็ก เพื่อช่วยให้แสงผ่านไปยังเลนส์ได้พอเหมาะ ถ้าแสงสว่างมากม่านตาจะเปิดช่องเป็นรูเล็ก และถ้าแสงสว่างน้อย ม่านตาจะเปิดช่องเป็นรูกว้าง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อเรตินา 3.รูม่านตา (Pupil ) มีลักษณะเป็นช่องกลมเล็กๆ กลางม่านตา เป็นส่วนที่มีสีเข้มกลางนัยน์ตา ทำหน้าที่เป็นช่องให้แสงผ่านไปสู่เลนส์ตา ขนาดของรูม่านตาจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเปิดปิดของม่านตา 4.เลนส์ตา (Lens) มีลักษณะเป็นเลนส์นูน ทำหน้าที่รับแสงและหักเหแสง เลนส์ตาสามารถปรับความยาวโพกัสได้ 5.กล้ามเนื้อตาหรือกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา (Ciliary muscle ) สามารถคลายตัวหรือหดตัว เพื่อปรับความยาวโพกัสของเลนส์ตาให้สามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดเจ นที่ระยะต่าง ๆ 6.เรตินา (Retina ) เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นฉากรับภาพที่เกิดจากการหักเหแสงผ่านเลนส์ตา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาท 2 ชนิด คือ 1.เซลล์ประสาทรูปแท่ง (Rod Cell ) ทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความมืดและความสว่าง ทำงานได้ดีในที่มีแสงสว่างน้อย 2.เซลล์ประสาทรูปกรวย (Cone Cell ) ทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับสี ทำงานได้ดีในที่มีแสงสว่างมาก เซลล์ประสาทเหล่านี้จะรวมกันเป็นประสาทตา (Optic Nerve ) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปสู่สมองเพื่อแปลควา มหมายออกมาเป็นภาพที่มองเห็น 2. ความบกพร่องของการมองเห็น คนสายตาปกติ สามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดในระยะใกล้สุดที่ระยะ 25 เซนติเมตร จากนัยน์ตา เรียกว่า ระยะใกล้ตา และสามารถมองเห็นวัตถุไกลสุดได้ชัดอยู่ที่ระยะอนันต์ ( ) เรียกว่า ระยะไกลตา ทั้งนี้เพราะภาพที่ได้ จะปรากฏบนเรตินาพอดี คนสายตาสั้น จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน แต่มองวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน โดยจุดใกล้ตาจะน้อยกว่า 25 เซนติเมตร แต่จุดไกลตาไม่ถึงระยะอนันต์ ทั้งนี้เป็นเพราะภาพของวัตถุเกิดอยู่หน้าเรตินา ซึ่งมีสาเหตุมาจากเลนส์ตาของคนสายตาสั้นหนามาก แม้ว่ากล้ามเนื้อตาจะผ่อนคลายแล้วก็ตาม
การแก้ไข จะต้องสวมแว่นตาที่ทำจากเลนส์เว้า เพื่อช่วยถ่างลำแสงก่อนหักเหผ่านเลนส์ตา เพื่อทำให้เกิดภาพที่เรตินาพอดี คนสายตายาว จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเจน แต่มองวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจน โดยจุดใกล้ตาจะมากกว่า 25 เซนติเมตร จุดไกลตาอยู่ที่ระยะอนันต์ ทั้งนี้เป็นเพราะภาพของวัตถุเกิดอยู่หลังเรตินา ซึ่งมีสาเหตุมาจากเลนส์ตาของคนสายตายาวจะบางมาก แม้ว่ากล้ามเนื้อตาจะพยายามบีบเต็มที่แล้ว การแก้ไข จะต้องสวมแว่นตาที่ทำจากเลนส์นูน เพื่อช่วยบีบลำแสงก่อนหักเหผ่านเลนส์ตา เพื่อทำให้เกิดภาพที่เรตินาพอดี สายตาคนชรา จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจนเหมือนกับเป็นคนสายตายาว แต่เมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกลๆ ก็มองเห็นไม่ชัดเจนอีกเหมือนกับคนสายตาสั้น โดยจุดใกล้ตาของคนชราจะมากกว่า 25เซนติเมตร ส่วนจุดไกลตาจะน้อยกว่าระยะอนันต์ เนื่องจากกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ คือ บังคับให้เลนส์ตาปรับความยาวโฟกัสยาวสั้นต่างๆ กันมากไม่ได้ การแก้ไข ต้องใช้แว่นตาสองอัน คือ ใช้แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูน เมื่อจะมองวัตถุที่อยู่ใกล้ และใช้แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เมื่อจะมองวัตถุที่อยู่ไกล คนสายตาเอียง จะมองเห็นวัตไม่คมชัดบริเวณรอบๆ โดยจะมองเห็นวัตถุในแนวระดับไม่ชัด แต่ในแนวดิ่งชัดและบริเวณตรงกลางชัดเจน สาเหตุเกิดจากความโค้งผิวของเลนส์ตาในระนาบทั้งสองไม่เท่ากัน การแก้ไข โดยการสวมแว่นตาที่ทำด้วยเลนส์กาบกล้วยชนิดเว้าและชนิดนูน การมองเห็นสี เมื่อให้แสงสีขาวตกกระทบวัตถุต่าง ๆ เราจะเห็นวัตถุมีสีแตกต่างกัน การมองเห็นสีต่าง ๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับ เซลล์รูปกรวยในเรตินาของตาแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกที่มีอิทธิพลต่อการเห็นสีของวัตถุ คือ การที่จากนั้นผ่านสีต่าง ๆ ของตัวกลาง ก่อนเข้าสู่ตาเรา เช่น แสงขาวของดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านปริซึม จะมองเห็นแสงสีถึง 7 สี เป็นต้น หรือ แสงสีต่าง ๆ ผ่านแผ่นกรองแสงสี เพื่อต้องการให้ได้แสงสีที่ต้องการ ในกรณีที่แสงขาวตกกระทบวัตถุทึบแสง วัตถุนั้นจะดูดกลืนแสงแต่ละสีที่ประกอบเป็นแสงขาวนั้นไว้ในปริมาณต่าง ๆ กัน แสงส่วนที่เหลือจากการดูดกลืนจะสะท้อนกลับเข้าตา ทำให้เราเห็นวัตถุเป็นสีเดียวกับแสงที่สะท้อนมาเข้าตามากที่สุด ตามปกติวัตถุมีสารที่เรียกว่า สารสีทำหน้าที่ดูดกลืนแสง วัตถุที่มีสีต่างกันจะมีสารสีต่างกัน การเห็นใบไม้เป็นสีเขียว เป็นเพราะใบไม้มีคลอโรฟิลเป็นสารดูดกลืนแสงสีม่วงและสีแดง แล้วปล่อยแสงสีเขียวและสีใกล้เคียงให้สะท้อนกลับเข้าตามากที่สุด ส่วนดอกไม้ที่มีสีแดงเพราะดอกมีสารสีแดงซึ่งดูดกลืนแสงสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียวส่วนใหญ่ไว้ แล้วปล่อยให้แสงสีแดงปนสีส้มและสีเหลืองให้สะท้อนกลับมาเข้าตามากที่สุด ส่วนสารที่มีสีดำนั้นจะดูดกลืนแสงทุกสีที่ตกกระทบทำให้ไม่มีแสงสีใดสะท้อนกลับเข้าสู่ตาเลย เราจึงเห็นวัตถุเป็นสีดำ แต่สารสีขาวนั้นจะสะท้อนแสงทุกสีที่ตกกระทบ รูปที่ 4 วัตถุสะท้อนแสงสีเขียวเข้าสู่นัยน์ตา ทำให้มองเห็นวัตถุเป็นสีเขียว การมองวัตถุสีหนึ่งที่มีความสว่างมากเป็นเวลานาน เช่นมองวัตถุสีเขียวนานๆ แล้วหันไปมองฉากสีขาวทันที จะมองเห็นฉากไม่เป็นสีขาวแต่จะเห็นเป็นสีม่วงแทน เพราะการมองสีเขียวนานจะทำให้เซลล์รูปกรวยที่ไวแสงสีเขียวล้า หยุดทำงานชั่วครู่ จึงทำให้เซลล์ไวแสงสีแดงกับน้ำเงินเท่านั้นที่ทำงาน จึงทำให้มองฉากขาวเป็นสีแดงม่วงแทน
แผ่นกรองแสงสี คือแผ่นวัตถุสีซึ่งยอมให้แสงเพียงสีเดียวทะลุผ่านได้
เมื่อนำแผ่นกรองแสงสีมาห่อหุ้มโคมไฟ หรือใส่หน้าเลนส์กล้องถ่ายรูป จะเปลี่ยนสีของแสงที่ทะลุผ่าน โดยจะยอมให้เฉพาะแสงที่มีสีเดียวกับแผ่นกรองแสงสีนั้นผ่านเท่านั้น และดูดกลืนแสงความยาวคลื่นอื่นทั้งหมดที่อยู่ในแสงขาวไว้
ตาบอดสี ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่ง ในม่านตาซึ่งมีความไวต่อสีต่าง ๆ มีความบกพร่องหรือพิการ ทำให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ ตาบอดสี มีหลายชนิด ชนิดที่ทุกคนรู้จักโดยทั่วไปได้แก่ ตาบอดสีที่มองสีเขียว กับสีแดงไม่เห็น (Red – Green blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวจากสีอื่น ๆ ได้ ดังนั้นคนตาบอดสีชนิดนี้จะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว สีดำ สีเทา และส่วนผสมของสีเหล่านั้นทั้งหมด คนที่ตาบอดสีจะมีปัญหาในการมองสีผิดเพี้ยนไปจากสีจริง เช่นสีของไฟจราจร เป็นต้น
การผสมสารสี การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีน ที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย 😉 ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป สารสีมีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงสีเมื่อมีแสงขาวมากระทบ แล้วจะสะท้อนแสงสีที่เหลือมาเข้าตา เราจึงมองเห็นเป็นสีที่สะท้อนมาเข้าตา การที่เราเข้าใจการผสมสารสี จะทำให้เราเข้าใจการดูดกลืนและการสะท้อนแสงสีของวัตถุ รูปการผสมสารสี สารสีที่ไม่อาจจะสร้างขึ้นมาได้จากการผสมสารสีต่างๆได้ เรียกว่า สารสีปฐมภูมิ (primary colour) เมื่อมี แสงขาวตกกระทบสารสีแดงม่วง จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้ แต่ไม่ดูดกลื่นแสงสีแดงม่วง ,น้ำเงิน , แดงจึงสะท้อน 3 สีนี้ออกมา เมื่อแสงขาวตกกระทบสารสีเหลือง จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีเหลือง , แดง , เขียว เมื่อแสงขาวตกกระทบสารสีน้ำเงินเขียว จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีน้ำเงินเขียว , เขียว , น้ำเงิน ถ้านำสารสีปฐมภูมิทั้ง 3 ผสมกันในปริมาณเท่ากัน จะได้สารสีดำซึ่งจะดูดกลืนทุกแสงสี ไม่สะท้อนแสงสีใดเลย เรียกสารสีที่ได้จากการผสมสารสีปฐมภูมิ 2 สี ว่าสารสีทุติยภูมิ ได้แก่ สีเขียว , สีแดง , สีน้ำเงิน ตามรูป การผสมแสงสี แสงสีแดง , แสงสีเขียว , แสงสีน้ำเงิน เรียกว่า แสงสีปฐมภูมิ (primary colour light) เมื่อฉายแสงสีปฐมภูมิทั้ง 3 แสงสี ลงบนฉากสีขาว จะได้ผลของการผสมเป็น “แสงขาว” เมื่อนำแสงสีปฐมภูมิมาผสมกันบนฉนกขาวที่ละคู่ ก็จะได้ผลของการผสมแสงสีตามรูป เช่น แสงสีแดง ผสมกับแสงสีเขียว จะได้แสงสีเหลือง ซึ่งเรียกผลที่ได้นี้ว่า “แสงสีทุติยภูมิ” ถ้าใช้ความเข้มของแสงสีนำมาผสมต่างๆกันไป แสงสีผสมที่เกิดขึ้นก็จะเกิดแสงสีที่มีความเข้มหลายระดับ |
แสง
แสง
แสง เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้
แหล่งกำเนิดแสง
แหล่งกำเนิดแสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด
2. แสงจากสัตว์ สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง
3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้
การเดินทางของแสง
แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา 8 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง 93 ล้านไมล์
ตัวกลางของแสง
ตัวกลางของแสง หมายถึง วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส
2. ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น
3. ตัวกลางทึกแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น
การหักเหของแสง
แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ
การหักเหของแสงผ่านเลนส์
เลนส์ คือ วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน เลนส์แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. เลนส์นูน มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน
2. เลนส์เว้า มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
1) รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
2) ท่อนำไข่ (Fallopian Tube) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร
3) มดลูก (uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4) ช่องคลอด (vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด
การตกไข่
การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1) ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2) ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จากนั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 – 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย
การตั้งครรภ์และการคลอด
การตั้งครรภ์จะเริ่มต้นเมื่อตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ตอนปลายใกล้กับรังไข่ โดยปกติ ไข่ 1 ใบจะถูกผสมด้วยอสุจิเพียง 1 ตัวเท่านั้น เพราะเมื่อมีตัวอสุจิตัวหนึ่งเข้าผสมแล้วเยื่อหุ้มเซลล์ของไข่จะหนาขึ้นจนทำให้อสุติตัวอื่นไม่สามารถเข้าผสมได้อีก หลังจากไข่ได้รับการผสมแล้วภายในเวลาประมาณ 10 – 12 ชั่วโมง นิวเคลียสของตัวอสุจิจะเข้าผสมกับนิวเคลียสของไข่ซึ่งเรียกว่าเกิดการปฏิสนธิ ภายหลังการปฏิสนธิประมาณ 30 – 37 ชั่วโมง ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะแบ่งเซลล์จาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ เป็น 4 เซลล์และแบ่งต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้กลุ่มเซลล์ เรียกว่า เอ็มบริโอ จากนั้นเอ็มบริโอจะเคลื่อนตัวไปฝังที่ผนังมดลูกต่อไป
หลังจากที่เอ็มบริโอฝังตัวกับผนังมดลูกจะมีการสร้างเยื่อบางๆขึ้น เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ ห่อหุ้มทารก ซึ่งภายในมีของเหลวไว้ป้องกันการกระทบกระเทือน ส่วนเอ็มบริโอก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งอายุประมาณ 8 สัปดาห์ จึงมีลักษณะต่างๆเหมือนทารก จากนั้นอวัยวะต่างๆทั้งอวัยวะภายในและภายนอกจะเจริญต่อไป เพื่อให้สมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะทำงาน สำหรับทารกในครรภ์จะได้รับอาหารและแก๊สรวมทั้งการกำจัดของเสียในร่างกายโดยผ่านทางรก รกเป็นส่วนที่ติดต่อกับมดลูกของแม่เชื่อมต่อถึงตัวทารกทางสายสะดือ จะมีเส้นเลือดจากตัวแม่มาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดั่งนั้นการเจริญเติบโต ของทารกในครรภ์จึงขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาสุขภาพของมารดาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ทารกจะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งครบกำหนดคลอด โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 9 เดือน หรือ 38 สัปดาห์ หรือ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของมารดา เมื่อครบกำหนดคลอดต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมากระตุ้นให้มดลูกบีบตัว ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อท้องจะหดตัวทำให้ปากมดลูกเปิดออก ทารกในครรภ์จึงถูกดันให้ออกมาทางช่องคลอดได้
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
1) อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น เสียงห้าว มีหนวดเครา
2) หลอดสร้างตัวอสุจิ (Semimiferous tubles) และท่อนำตัวอสุจิ (vasdeferens)
หลอดสร้างตัวอสุจิเป็นหลอดที่หน้าที่ผลิตตัวอสุจิจะประกอบด้วยกลุ่มเชล spermatogonium และ sertoli cell ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิและปล่อยออกมาทาง rete testis เข้าไปอยู่ในหลอดเก็บตัวอสุจิ
3) ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)
ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส วิตามินซี และโปรตีนโกบุลิน
4) ต่อมลูกหมาก (prostate gland) อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่เป็นเบสอย่างอ่อนและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว
5) ต่อมคาวเปอร์ (cowper gland) มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดดารกระตุ้นทางเพศ
6) อวัยวะเพศชาย (pennis) เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมาก ภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ
ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิก่อนจะถูกลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการหลั่งออกสู่ภายนอก ต่อมลูกหมากจะหลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับตัวอสุจิก่อนที่จะหลั่งน้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะ
โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 12 – 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350 – 500 ล้านตัว สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 – 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง
น้ำอสุจิ แต่ละครั้งที่หลั่งออกมาประกอบด้วยตัวอะสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่างๆประมาณครั้งละ 3 ลบ . ซม . จำนวนอสุจิประมาณ 300-500 ล้านตัว
ตัวอสุจิ มีขนาดเล็กมากมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนหางดังรูป มีอายุ 48 ชั่วโมงเมื่อเข้าไปในมดลูก
ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์
การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง
ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)
ระบบสืบพันธุ์ ( Reproductive System )
เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป
มี 2 แบบคือ
- การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ(sexual reproduction) คือ ทำให้ลูกที่เกิดมามีความแปรผันทางพันธุกรรม
– Fertilization หรือการปฏิสนธิ มีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เกิดเป็นzygole แบ่งออกเป็นการปฎิสนธิภายในกับการปฎิสนธิภายนอก
– Conjugation หรือการถ่ายโอน DNA พบในแบคทีเรีย พารามีเซียม สาหร่ายและฟังไจบางชนิด
- การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(asexual reproduction) คือ ลูกที่เกิดมาไม่มีความแปรผันทางพันธุกรรมลักษณะเหมือนพ่อ แม่ทุกประการ
– Binary fission คือการแบ่งเซลล์ออกเปนสอง
– Multi fission คือแบ่งนิวเคลียสหลายๆที แล้วค่อยแบ่ง cytoplasm
– Sporulation หรือการสร้างสปอร์
– Parthenogenesis พบในผึ้ง ต่อ แตน โดยไข่ (n) ที่ไม่ได้รับการผสมจะเจริญกลายเป็น ตัวผู้
ระบบประสาทและการแสดงพฤติกรรม
1.1 ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุดรอยหยักมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ควบคุมการเคลื่อนไหว ความรู้สึก และประสาทสัมผัส1.2 ทาลามัส (Thalamus) เป็นตัวกลางถ่ายทอดกระแสประสาทในสมอง1.3 ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลร่างกายและการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การหายใจ การหลับ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
3.1 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่ใต้ซีรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว3.2 พอนส์ (Pons) อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม มีใยประสาทเชื่อมระหว่างซีรีบรัมและซีรีเบลลัม ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวพร้อมกับทรงตัวได้3.3 เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) อยู่ติดกับพอนส์ทางด้านบน เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น การหายใจ
1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัส เข้าสู่สมองและไขสันหลัง2.เซลล์ประสาทนำคำสั่ง เชื่อมเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการ3.เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลังให้ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
1.ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของอวัยวะและกล้ามเนื้อที่บังคับได้
2.ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง เรียกว่า ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ซึ่งตอบนองต่อสิ่งเร้าทันที เช่น เมื่อนิ้วถูกความร้อน กระแสประสาทจะส่งไปไขสันหลัง ไม่ผ่านสมอง ไขสันหลังจะสั่งให้กล้ามเนื้อที่แขนหดตัวและดึงมือออกทันที
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
การย่อยอาหารจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลว หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็งเกิดอาการท้องผูก
การขับถ่ายของเสียทางปอด
ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจากร่างกายทางจมูก
การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
ผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ เหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่นๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแล็กติก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย
การขับถ่ายของเสียทางไต
ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเม็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ถ้าผ่าตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นใน มีขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีท่อไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตนับล้านหน่วย เป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งตัน เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “โบว์แมนส์แคปซูล(Bowman’s Capsule)” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วย ภายในแอ่งจะมีกลุ่มหลอดเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุก เรียกว่า “โกลเมอรูลัส (Glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต
ที่บริเวณของหน่วยไตมีการดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุ น้ำตาลกลูโคส กรดแอมิโน รวมทั้งน้ำกลับคืนสู่หลอดเลือดฝอยและเข้าสู่หลอดเลือดดำ ส่วนของเสียอื่นๆ ที่เหลือก็คือ ปัสสาวะ จะถูกส่งมาตามท่อไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่กระเพาะปัสสาวะสามารถที่จะหดตัวขับปัสสาวะออกมาได้ เมื่อมีปัสสาวะมาขังอยู่ประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในแต่ละวันร่างกายจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร
เมื่อไตผิดปกติจะทำให้สารบางชนิดออกมาปนกับปัสสาวะ เช่น เม็ดเลือดแดง กรดแอมิโน น้ำตาลกลูโคส ปัจจุบันแพทย์มีการใช้ไตเทียมหรืออาจจะใช้การปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานปกติได้
ระบบหายใจ
ระบบหายใจ กระบวนการในการหายใจ กระบวนการหายใจ การหายใจเข้าและหายใจออก
การหายใจเข้าและหายใจออก |
||||
แผนภูมิแสดงสัดส่วนของแก๊สชนิดต่าง ๆ ในลมหายใจเข้าและออก
ความจุอากาศของปอด ความจุอากาศของปอดในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราการหายใจเข้าและการหายใจออกที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด เช่น ในขณะ ที่เรากลั้นหายใจ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดจะสูงขึ้น ซึ่งความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายให้เกิดการหายใจขึ้นจนได้ ในขณะที่นอนหลับร่างกายจะถูกกระตุ้นน้อยลง จึงทำให้การหายใจเป็นไปอย่างช้าความเข้มข้น ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดที่มีมากเกินไป เป็นอีกสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหาว ซึ่งการหาวที่เกิดขึ้นนั้นก็เพื่อ เป็นการขับ เอาแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ที่สะสมอยู่มากเกินไปออกจากร่างกาย การแลกเปลี่ยนแก๊สของปลา
ปลาหายใจด้วยเหงือก โดยการอ้าปากให้น้ำที่มีแก๊สออกซิเจนละลายอยู่เข้าทางปาก แล้วผ่านออกทางเหงือก แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่เหงือกแล้วหมุนเวียนไปตามระบบหมุนเวียนเลือดต่อไป
การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง
อากาศจะเข้าและออกจากร่างกายแมลงทางช่องหายใจซึ่งอยู่เป็นแถวบริเวณท้อง ช่องหายใจจะติดกับท่อลม โดยท่อลมน ี้จะแตกเป็นแขนงเล็ก ไปยังเนื้อเยื่อ ทั่วร่างกายของแมลงเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส อากาศจากภายนอก จะเคลื่อนที่ไป ตามท่อลม ไปยังเซลล์ แก๊สออกซิเจน ในอากาศจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ในขณะที่ ี่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากภายในร่างกาย แพร่ออกสู่อากาศในท่อลมและเคลื่อนที่ย้อนกลับออกสู่ภายนอกร่างกาย การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา
ไฮดรา ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ แก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด ์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เข้าและ ออกจากเซลล์โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ |
ระบบหมุนเวียนเลือด
เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือ
พลาสมา (plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา
ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ ทำหน้าที่ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามินและ
สารอาหารประเภทต่างๆที่ผ่านการย่อยอาหารมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย
2. เซลล์เม็ดเลือด ประกอบด้วย
2.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell)
มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน ( คล้ายขนมโดนัท ) เนื่องจากไม่มีนิวเคลียส องค์ประกอบส่วนใหญ่
เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า “ ฮีโมโกลบิน ” ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
หน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส โดยจะลำเลียงแกสออกซิเจน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ปอด
แหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุ
ประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม
2.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell)
มีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีสีและมีนิวเคลียส เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
หน้าที่ ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย
แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7-14 วัน
3. เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด (blood pletelet)
ไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ซึ่งมีรุปร่างกลมรีและแบนเกล็ดเลือดมีอายุประมาณ4วัน
หน้าที่ ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีการไหลของเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
::หัวใจ (Heart)::
|
|
หัวใจ (Heart) ทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง
เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึง
::วงจรการไหลเวียนเลือด::
วงจรการไหลเวียนเลือด เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากปอดแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจ
ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายและเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง
หรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวาแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อ
แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจน เป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกายเช่นนี้ตลอดไป
การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจ
การไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆ
ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ
หลอดเลือดในร่างกายมี 3 ชนิด
1. หลอดเลือดแดง (artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายหลอดเลือดแดงมี
ผนังหนาแข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง
หรือเรียกว่า “ เลือดแดง ”ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอดภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า “ เลือดดำ ”
2. หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดดมีผนังบางกว่า
หลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สออกซิเจนต่ำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย (capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่าวหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแห
แทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็กและละเอียดเป็นฝอยและมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยน
แก๊สและสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์
::ความดันเลือด ( blood pressure)::
|
ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจ
ที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดง
ที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็น
มิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ
- ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
เรียกว่า ความดันระยะหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure) - ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
เรียกว่า ความดันระยะหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure)
เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “ มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเตตโตสโคป (stetoscope)” โดยจะวัด
ความดันที่หลอดเลือดแดง
ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะหัวใจ
รับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น
หลอดเลือดตีบตัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่
ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อ
การบีบตัวของหัวใจโดยตรง
ชีพจร หมายถึง การหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้น
เฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติอัตราการเต้นของชีพจรในเพศชาย
จะสูงกว่าเพศหญิง
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้
- อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก
- เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนจะมีความดันเลือด
ค่อนข้างสูง - ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก
- อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่ายทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่อารมณ์ปกติ
- คนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง
สารต่างๆในเซลล์จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่หลอดเลือดด้วยระบบน้ำเหลืองโดยสัมพันธ์กับการไหลของเลือดในหลอดเลือดฝอย
ระบบน้ำเหลืองมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. อวัยวะน้ำเหลือง เป็นศูนย์กลางผลิตเซลล์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม และต่อมไทมัส
มีหน้าที่ผลิตสารต่อต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
2. ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) มีหน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่หลอดเลือดดำในระบบหมุนเวียนของเลือด
3. น้ำเหลือง (lymph) มีลักษณะเป็นของเหลวใสอาบอยู่รอบๆ เซลล์ สามารถซึมผ่านเข้าออกผนังหลอดเลือดฝอยได้
มีหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสารระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ได้
:: ระบบภูมิคุ้มกัน ::
|
ร่างกายของคนเราที่มีสภาพภูมิคู้มกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดโรคได้ร่างกายซึ่งมีกลไกกำจัดสิ่งแปลกปลอม
ตามธรรมชาติ ดังนี้
- เหงื่อเป็นสารที่ร่างกายขับจากต่อมเหงื่อออกมาที่บริเวณผิวหนังทั่วร่างกายสามารถป้องกันการเจริญเติบโต
ของแบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง - น้ำตาและน้ำลาย ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้
- ขนจมูกและน้ำเมือกในจมูก ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ
- เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเซลล์ร่างกายและท่อน้ำเหลือง สร้างสารต่อต้านเชื้อโรคที่เรียกว่า “ แอนติบอดี
(Antibody)” เพื่อทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเฉพาะโรค ที่เข้าสู่ร่างกายนั้นสร้างได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
เช่น การฉีดวัคซีนคุ้มกันโรคอหิวาตกโรค เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี เพื่อทำลายเชื้ออหิวาตกโรค
ที่จะเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
2. ภูมิคุ้มกันที่รับมา เป็นวิธีการให้แอนติบอดีแก่ร่างกายโดยตรง เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันทันที เ ช่น การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู
ใช้ฉีดเมื่อถูกงูกัด จะเกิดภูมิคุ้มกันทันที
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร
อาหารที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม จะนำเข้าสู่เซลล์ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปของสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก คือ กรดอะมิโน น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลีเซอรอล และกรดไขมัน นั่นก็คือ อาหาร โมเลกุลใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตรับประทานเข้าไป จำเป็นต้องแปรสภาพให้มีขนาดเล็กลง การแปรสภาพของอาหารดังกล่าวเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่อาศัยการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร โดยทั่วไปเรียกว่า น้ำย่อย จากนั้นโมเลกุลของสารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ กระบวนการแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า การย่อยอาหาร (Digestion)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหารมีหน้าที่ย่อยอาหารให้ละเอียด แล้วดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การย่อยอาหาร (Digestion) หมายถึง กระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุด จนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้
เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะผ่านระบบต่าง ๆ ดังนี้
- ปาก
- หลอดอาหาร
- กระเพาะอาหาร
- ลำไส้เล็ก
- ลำไส้ใหญ่
- ของเสียออกทางทวารหนัก
ขั้นตอนการย่อยอาหาร
การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน
- การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาดเล็กสุด จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้
- การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับ น้ำ โดยตรง และจะใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยา
ผลจากการย่อยทางเคมีเมื่อถึงจุดสุดท้าย จะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งอาหารที่ต้องมีการย่อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ส่วนเกลือแร่ และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง
อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร
- ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) ผลิตน้ำย่อยอะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
- กระเพาะอาหาร (Stomach) ผลิต น้ำย่อยเพปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นโปรตีนสายสั้น (เพปไทด์) และ น้ำย่อยเรนนิน ย่อยโปรตีนในนมให้เป็นโปรตีนเป็นลิ่ม ๆ
- ลำไส้เล็ก (Small Intestine) ผลิต น้ำย่อยมอลเทส ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส น้ำย่อยซูเครส ย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรักโทส น้ำย่อยแลกเทส ย่อยน้ำตาลแลกโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลกโตส น้ำย่อยอะมิโนเพปทิเดส ย่อยโปรตีนสายสั้นให้เป็นกรดอะมิโน
- ตับ (Liver) ผลิตน้ำดี ย่อยไขมันให้เป็นไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ
- ตับอ่อน (Pancreas) ผลิตน้ำย่อยลิเพส ย่อยไขมันแตกตัวให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล น้ำย่อยทริปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นพอลิเพปไทด์และไดเพปไทด์ น้ำย่อยคาร์บอกซิเพปพิเดส ย่อยเพปไทด์ให้เป็ฯกรดอะมิโน น้ำย่อยอะไมเลส ย่อยเช่นเดียวกับน้ำย่อยอะไมเลสในปาก
ต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลาย (Silvary Gland) เป็นต่อมมีท่อ ทำหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva) ต่อมน้ำลายของคนมีอยู่ 3 คู่ คือ
1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual Gland) 1 คู่
2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (Submandibulary Gland) 1 คู่
3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู (Parotid Gland) 1 คู่
ต่อมน้ำลายทั้ง 3 คู่นี้ ทำหน้าที่สร้างน้ำลายที่มีเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยสารอาหารจำพวกแป้งเท่านั้น
ความสำคัญของน้ำลาย
- เป็นตัวหล่อลื่น และทำให้อาหารรวมกันเป็นก้อน เรียกว่า โบลัส (Bolus)
- ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน
- มีเอนไซม์ช่วยย่อยแป้ง
- ช่วยทำให้ปุ่มรับรสตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขมได้ดี
การย่อยในปาก
เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทำงานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงกล ทำให้อาหารกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต่อมน้ำลายก็จะหลั่งน้ำลายออกมาช่วยคลุกเคล้าให้อาหารเป็นก้อนลื่นสะดวกต่อการกลืน เอนไซม์ในน้ำลาย คือ ไทยาลิน หรืออะไมเลสจะย่อยแป้งในระยะเวลาสั้น ๆ ในขณะที่อยู่ในช่องปากให้กลายเป็นเดกซ์ทริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้ำตาล และถูกย่อยต่อไปจนเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ มอลโตส
กระเพาะอาหาร
ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามาก ด้านในมีลักษณะเป็นสันช่วยในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลงอีก ผนังด้านในสามารถสร้างเอนไซม์เพปซิโนเจน (Pepsinogen) และกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ (HCI) เพปซิโนเจนจะถูกกรดเกลือเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นเอนไซม์เพปซิน (Pepsin) ซึ่งมีความสามารถในการย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียก่า เพปไทด์ (Peptide) แต่ยังไม่สามารถดูดซึมได้
การย่อยในกระเพาะอาหาร
อาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงของกระเพาะ โปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะ โดยน้ำย่อยเพปซิน ซึ่งย่อยพันธะบางชนิดของเพปไทด์เท่านั้น ดังนั้นโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นพอลิเพปไทด์ที่สั้นลง ส่วนเรนนินช่วยเปลี่ยนเคซีน (Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนมแล้ว รวมกับแคลเซียมทำให้มีลักษณะเป็นลิ่ม ๆ จากนั้นจะถูกเพปซินย่อยต่อไป
ในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยลิเพสไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากมีสภาพเป็นกรด โดยปกติอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนาน 30 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้น ๆ
กระเพาะอาหารก็มีการดูดซึมอาหารบางชนิดได้ แต่ปริมาณน้อยมาก เช่น น้ำ แร่ธาตุ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กระเพาะอาหารดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี
อาหารโปรตีน เช่น เนื้อวัว ย่อยยากกว่าเนื้อปลา ในการปรุงอาหารเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลงไปในเนื้อสัตว์เหล่านั้น เช่น ยางมะละกอ หรือสับปะรด
ลำไส้เล็ก
เป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดีนัม เจจูนัม และไอเลียม ที่ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยขึ้นมาได้ ซึ่งมีหลายชนิด นอกจากนั้นที่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ยังได้รับน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีมาจากตับ น้ำย่อยจากตับอ่อนมีหลายชนิดที่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันได้
การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก
1.ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ดังนี้
– มอลโทส โดยเอนไซม์มอลเทส ได้กลูโคส 2 โมเลกุล
– ซูโครส โดยเอนไซม์ซูเครส ได้กลูโคส และฟรักโทส
– แลกโทส โดยเอนไซม์แลกเทส ได้กลูโคส และกาแลกโทส
2. ย่อยสารอาหารโปรตีนต่อจากกระเพาะอาหาร ได้แก่ เพปไทด์โดยเอนไซม์ทริปซินได้กรดอะมิโน ซึ่งเป็นโปรตีนโมเลกุลเดี่ยว
3. ย่อยไขมัน โดยเอนไซม์ ลิเพส จะย่อยไขมันโมเลกุลเล็ก ( emulsified fat ) ให้เป็นไขมันโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กรดไขมันและกลีเซอรอล
การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก
การดูดซึมอาหาร หมายถึง ขบวนการที่นำอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน กลีเซอรอล ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารเกือบทั้งหมดเพราะเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และโครงสร้างภายในลำไส้เล็กก็เหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังลำไส้เล็กจะยาวพับไปมา และมีส่วนยื่นของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลลัส (Villus) เป็นจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvillus) ในคน มีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ 5 ล้านอัน ตลอดผนังลำไส้ทั้งหมด
การดูดซึมในลำไส้ใหญ่
การดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้เล็ก ส่วนอาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือย่อยไม่ได้ เช่น เซลลูโลส ก็จะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ ส่วนต้นของลำไส้ใหญ่มีไส้เล็ก ๆ ปลายตัน เรียกว่า ไส้ติ่ง ไส้ติ่งของคนไม่ได้ทำหน้าที่อะไรแต่ก็อาจเกิดการอักเสบถึงกับต้องผ่าตัดไส้ติ่งออกไป ซึ่งอาจเกิดจากการอาหารผ่านช่องเปิดลงไป หรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไส้ติ่งเกิดการอุดตัน อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก ซึ่งจะใช้ประโยชน์จากกากอาหารนี้ นอกจากนั้นแบคเทีเรียบางชนิดยังสังเคราะห์ วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเค วิตามินบี 12 เซลล์ที่บุผนังลำไส้ใหญ่ สามารถดูดน้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคสจากกากอาหารเข้ากระแสเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำ จึงทำให้กากอาหารข้นขึ้น จนเป็นก้อนกากอาหารจะผ่านไปถึงไส้ตรง ท้ายสุดของไส้ตรงเป็นกล้ามเนื้อหูรูดแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นวงรอบปากทวารหนักทำหน้าที่บีบตัวในการขับถ่าย และผนังภายในลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นก้อนอาหาร
น้ำดี (Bile) สร้างจากตับ (Liver) แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ ถุงน้ำดี (Gall Bladder) ไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์ เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว (น้ำดีไม่มีน้ำย่อย) มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ
- เกลือน้ำดี (Bile Salt) มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (Fat) แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (Emulsion) จากนั้นถูก Lipase ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
- รงควัตถุน้ำดี (Bile Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยตับเป็นแหล่งทำลายและกำจัด Hemoglobin ออกจากเซลล์ เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ โดยเก็บรวบรวมเข้าไว้เป็นรงควัตถุในน้ำดี (Bile Pigment) คือ บิริรูบิน (Bilirubin) จึงทำให้น้ำดีมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาลโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดเป็นใสในอุจจาระ
- โคเรสเตอรอล (Cholesterol) ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดีซ่าน (Janudice) มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง