หินอัคนี
posted on 13 Mar 2010 16:33 by wutthinan
จะเป็นหินพลูโทนิค (Plutonic Rock) หรือเรียกว่าหินอัคนีระดับลึก จะมีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ ลาวาหรือหินหนืดบางส่วน
ที่เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ เมื่อเย็นตัวลงบนพื้นโลกก็จะเกิดเป็นหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock)
จะมีเม็ดแร่ขนาดเล็กละเอียดในกรณีที่หินหนืดมีการแทรกซอนเข้าใกล้ผิวโลกแล้วเย็นตัวลง
จะทำให้เกิดหินอัคนีที่มีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ปะปนกับเม็ดแร่ขนาดเล็ก
ลักษณะพื้นฐาน
- เม็ดแร่จะจับตัวกันแน่น (Interlocking) จะมีความพรุ่นต่ำ
- เนื้อหินจะสมานกันแน่นทั้งก้อน (Massive) ไม่พบรอยแตก
- แร่ในเนื้อหินจะไม่ค่อยพบกับการจัดเรียงตัว
- มีแร่เฟลด์สปาร์สูง และจะมีแร่เด่น คือ แร่เพลด์สปาทอยด์ โอลิวีน โครไมต์
- บางส่วนในเนื้อหินจะมีแก้วธรรมชาติปะปนอยู่บ้าง
พนังหิน : เมื่อหินหนืดดันแทรกเข้าไปตามโครงสร้างที่แตกร้าวของหินเดิมและเย็นตัวกลายเป็นหินแข็ง
เรียกว่า พนังหินซึ่งมักมีมุมสูงชัน
พลูโทน : เป็นมวลหินอัคนีที่แข็งตัวใต้เปลือกโลกที่ระดับความลึกมาก ขนาดของมวลพลูโทน
อาจกว้างนับร้อย ๆ กิโลเมตร
พนังแทรกชั้น : หินหนืดสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างแนวระนาบของหินชั้น
และเมื่อเย็นตัวลงเป็นหินแข็งจะกลายเป็นพนังแทรกชั้น
หลังจากที่หินชั้นถูกกัดกร่อนทำลายไปจะเหลือสันแนวยาวโผล่ให้เห็นบนพื้นผิวโลก
แบ่งเป็น
1. หินอัคนีแทรกซอน ได้แก่
หินเพกมาไทต์
ประเภท |
อัคนีแทรกซอน |
ลักษณะ |
จะมีลักษณะรูปร่างแบบโครงสร้างกราฟฟิค (Graphic Structure) เนื้อหยาบ |
กระบวนการเกิด |
ของเหลวที่เหลือจากการตกผลึกของหินหนืดในช่วงสุดท้าย เรียกว่าสารละลายไฮโดรเทอร์มอล หรือแร่ร้อน (Hydrothermal Solution) สารละลายไฮโดรเทอร์มอลจะตกผลิกให้แร่ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก |
องค์ประกอบ |
ควอร์ตซ์และออร์โทเคลสเฟลด์สปาร์เป็นส่วนใหญ่ และมีไมกาบ้างเล็กน้อย บางที่ควอร์ตซ์ก็จะเกิดเป็นรูปนิ้วมืออยู่ในออร์โทเคลสเฟลด์สปาร์ แร่ที่ประกอบ เบอร์ลเลียม อะลูมินา และซิลิกา |
บริเวณที่พบ |
นราธิวาส, ตาก, ระนอง |
ประโยชน์ |
เป็นวัสดุก่อสร้าง ถ้ามีแร่เฟลสปร์มากเมื่อผุพังแล้วจะให้แร่ดินขาว ซึ่งใช้ในอุตสากรรมเซรามิก |
หินไดออไรต์
ประเภท | อัคนีแทรกซอน |
ลักษณะ | เนื้อหยาบ ผลึกแร่ใหญ่ค่อนข้างสม่ำเสมอ มีสีคล้ำอาจถึงดำเพราะปริมาณแร่สีเข้มมีมากขึ้น |
กระบวนการเกิด | กำเนิดอยู่ภายใต้ผิวโลก เกิดจากหินหนืดมาเย็นตัวเป็นหินอยู่ใต้พื้นผิวโลก |
องค์ประกอบ | แร่ที่สำคัญคือ แร่เพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ ไปโอไทต์ ฮอร์นเบลนด์ และ ไพรอกซีน จะไม่มีแร่ควอตซ์ปนอยู่ด้วย หรืออาจจะมีแต่น้อยมาก แร่ที่การเพิ่มมากขึ้น คือ โซดาไลม์เฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้ม |
บริเวณที่พบ | ในประเทศไทยพบไม่มากนัก และโดยมากในบริเวณเดียวกับที่ที่พบหินแกรนิต เช่นที่จังหวัดตาก เลย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เชียงราย สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา |
ประโยชน์ | ใช้เป็นหินก่อสร้างแทนหินแกรนิต เพราะว่ามีค่ากำลังวัสดุสูง เนื้อหยาบ ความพรุนต่ำ มีการยึดติดกับยางมะตอยสูง |
หินแกรนิต
ประเภท |
อัคนีแทรกซอน |
ลักษณะ |
เป็นหินที่มีเนื้อหยาบหรือเป็นดอกผลึกเกาะกันแน่นเห็นได้ชัด ดูโดยทั่วไปเป็นหินสีจาง เพราะมีแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่พวกเฟลด์สปาร์และ ควอร์ตซ์ เมื่อทุบดูจะเห็นผิวหน้าที่ขรุขระได้ชัดเจน |
กระบวนการเกิด |
เกิดจากการเย็นตัวอย่างช้า ๆ ภายใต้พื้นผิวโลก |
องค์ประกอบ |
แร่ที่สำคัญคือ แร่ควอร์ตซ์ประมาณ 30% กับแร่เฟลด์สปาร์ โดยเฉพาะพวกออร์โทเคลสประมาณ 60% แร่สีเข้มประมาณ 10% ได้แก่ ฮอร์นเบลนด์ ไบโอไทต์ ทัวร์มาลีน มีแทรกกระจายอยู่โดยทั่วไปในเนื้อหิน (ถ.พ. เฉลี่ย 2.66) |
บริเวณที่พบ |
ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี ระยอง ชลบุรี ภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึง จังหวัดตาก ภาคใต้แถบบริเวณเขตแดนไทย – พม่า จังหวัดสงขลา ยะลา และจังหวัดนราธิวาส |
ประโยชน์ |
เนื่องจากมีเนื้อเหนียวและแข็ง ทนทานต่อการผุสึกกร่อน เนื้อหินเมื่อนำมาตัดเป็นแผ่นเรียบขัดมันจะมีลวดลายสวยงามมาก ใช้เป็นหินประดับและหินก่อสร้าง เพราะมีความแข็งแรงคงทน เมื่อโม่ย่อยเพื่อผลิตเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ส่วนผสมคอนกรีตทำถนน ทำอนุสาวรีย์ ทำครก นับว่าใช้เป็นหินประดับและหินก่อสร้าง |
หินแกรนิต สีชมพู
ประเภท |
อัคนีแทรกซอน |
ลักษณะ |
เป็นหินที่มีเนื้อหยาบหรือเป็นดอกผลึกเกาะกันแน่นเห็นได้ชัด ดูโดยทั่วไปเป็นหินสีจาง เพราะมีแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่พวกเฟลด์สปาร์สีชมพูและ ควอร์ตซ์ เมื่อทุบดูจะเห็นผิวหน้าที่ขรุขระได้ชัดเจน |
กระบวนการเกิด |
เกิดจากการเย็นตัวอย่างช้า ๆ ภายใต้พื้นผิวโลก |
องค์ประกอบ |
แร่ที่สำคัญคือ แร่ควอร์ตซ์ประมาณ 30% กับแร่เฟลด์สปาร์ โดยเฉพาะพวกออร์โทเคลสประมาณ 60% แร่สีเข้มประมาณ 10% ได้แก่ ฮอร์นเบลนด์ ไบโอไทต์ ทัวร์มาลีน มีแทรกกระจายอยู่โดยทั่วไปในเนื้อหิน (ถ.พ. เฉลี่ย 2.66) |
บริเวณที่พบ |
จังหวัดตาก นครสวรรค์ และจันทบุรี |
ประโยชน์ |
เนื่องจากมีเนื้อเหนียวและแข็ง ทนทานต่อการผุสึกกร่อน เนื้อหินเมื่อนำมาตัดเป็นแผ่นเรียบขัดมันจะมีลวดลายสวยงามมาก ใช้เป็นหินประดับและหินก่อสร้าง เพราะมีความแข็งแรงคงทน เมื่อโม่ย่อยเพื่อผลิตเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ส่วนผสมคอนกรีตทำถนน ทำอนุสาวรีย์ ทำครก นับว่าใช้เป็นหินประดับและหินก่อสร้าง |
2. หินอัคนีพุ ได้แก่
หินแอนดีไซต์
ประเภท |
อัคนีพุ |
ลักษณะ |
เป็นหินที่เนื้อละเอียด ผลึกของแร่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เพราะแร่ตกผลึกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกแร่มีขนาดเล็ก มีสีม่วง เขียว เทาแก่ หรือดำ ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจวินิจฉัย |
กระบวนการเกิด |
เกิดจากหินหนืดเย็นตัวบนพื้นผิวโลก |
องค์ประกอบ |
ประกอบด้วยแร่ที่สำคัญ คือ แร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มพวกฮอร์นเบลนด์ ไพรอกซีน และไบโอไทต์ บางแหล่งจะเป็นแร่ไพรอกซีนใหญ่ฝังลอยในเนื้อหินละเอียด หน้าตัดจะเห็นชัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือมีแร่เฟลด์สปาร์ใหญ่ฝังในเนื้อหินซึ่งสีจะเข้ม |
บริเวณที่พบ |
ตามขอบที่ราบสูงโคราช เช่น จังหวัดนครราชสีมา สระบุรี เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครนายก แพร่ และจังหวัดลำปาง ทางด้านทิศตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด |
ประโยชน์ |
ใช้เป็นหินก่อสร้าง ทำถนน ทางรถไฟ ทำหินเกล็ด เคยมีการระเบิดทำเหมืองอยู่ที่เขาตะกร้า จ.สระบุรี |
หินไรโอไลต์
ประเภท |
อัคนีพุ |
ลักษณะ |
เนื้อละเอียดมาก โดยทั่ว ๆ ไป มักจะมีสีจาง เช่น ขาว ชมพูซีด หรือ เทา บางทีก็มีเนื้อแก้ว มักจะเป็นเม็ดแร่ควอร์ตซ์ใส ๆ ฝังในเนื้อหิน |
กระบวนการเกิด |
เกิดจากหินลาวาขึ้นมาสู่ผิวโลกและเย็นตัวบนผิวโลก เป็นการเย็นตัวค่อนข้างที่จะรวดเร็ว |
องค์ประกอบ |
ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแร่เฟลด์สปาร์ และแร่ควอร์ตซ์ แร่อื่น ๆ ที่มีแต่ไม่สำคัญ ได้แก่ไบโอไทต์ ฮอร์นแบลนด์ บางครั้งอาจจะพบผลึกที่มีขนาดโต |
บริเวณที่พบ |
หินโผล่ ปรากฏเป็นบริเวณทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีลักษณะเป็นเขาใหญ่ที่มีต่อเนื่องกัน พบที่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี เพชรบุรี และจังหวัดแพร่ |
ประโยชน์ |
ใช้เป็นหินก่อสร้าง ทำถนน ทางรถไฟ ทำครก ประดับสวน และอาคาร |
หินพัมมิช
ประเภท |
อัคนีพุ |
ลักษณะ |
เนื้อเป็นฟองและเบา มีเนื้อสีจาง เช่น สีขาว มีรูพรุนเล็ก ๆ เต็มไปหมด จนบางครั้งสามารถลอยน้ำได้ เนื้อไม่เนียน เพราะมีรูพรุ่น แต่อย่างไรก็ตามเนื้อยังเป็นแก้ว เพราะลาวาเย็นตัวเสียก่อนที่แร่จะตกผลึกได้ทัน ก๊าซที่มีปนอยู่ในเนื้อทำให้เกิดเป็นรูเล็ก ๆ ทั้งก้อน |
กระบวนการเกิด |
เกิดจากหินลาวาขึ้นมาเย็นตัวบนพื้นผิวโลก |
องค์ประกอบ |
แร่ที่เป็นส่วนประกอบเกือบทั้งหมดเป็นพวกซิลิกา ที่เป็นแร่ควอว์ตซ์เม็ดเล็กละเอียด หรือส่วนที่เป็นแก้วธรรมชาติ |
บริเวณที่พบ |
พบตามชายทะเล จังหวัดระยอง ซึ่งลอยมาได้จากที่อื่น |
ประโยชน์ |
ให้เป็นหินถูตัว ใช้ทำวัสดุขัดถูภาชนะดี ทำให้ผิวภาชนะเป็นเงาวาว บางก้อนถ้าตัดได้เป็นแผ่น ใช้ทำเป็นฉนวนในเครื่องทำความเย็นผสมหากนำมาใช้กับปูนซีเมนต์ และปูนพลาสเตอร์จะทำให้น้ำหนักเบาขึ้น |
หินบอมบ์ภูเขาไฟ
ประเภท | อัคนีพุ |
ลักษณะ | มีเนื้อละเอียด สีเข้ม หรือเทา แก่ถึงดำ น้ำตาลแก่ ส่วนมากมีรูพรุน มีลักษณะกลมมน หรือคล้ายลูกรักบี้ |
กระบวนการเกิด | เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่ถูกพ่นขึ้นไป และเย็นตัวในอากาศ |
องค์ประกอบ | แร่ที่สำคัญคือ แร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอื่น ๆ เช่น ไพรอกซีนละเอียดมาก เฟลด์สปาร์ ฮอร์นเเบลนด์ และโอลิวีน แต่ผลึกแร่เล็กละเอียดมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและยังไม่ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ |
บริเวณที่พบ | จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และลำปาง |
ประโยชน์ | ใช้เป็นหินประดับสวน โม่ทำวัสดุก่อสร้าง |
หินบะซอลต์
ประเภท | อัคนีพุ |
ลักษณะ | มีเนื้อละเอียด สีเข้ม หรือเทาแก่ถึงดำ น้ำตาลแก่ และหนัก ส่วนมากมีรูพรุน อายุของหินที่พบในประเทศไทยนับว่ามีอายุใหม่มาก ประมาณ 2 – 10 ล้านปี อยู่ในยุค Quaternary – Late Tertiary |
กระบวนการเกิด | เกิดจากหินลาวาขึ้นมาเย็นตัวบนพื้นผิวโลก |
องค์ประกอบ | แร่ที่สำคัญคือ แร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอื่น ๆ เช่น ไพรอกซีนละเอียดมาก เฟลด์สปาร์ ฮอร์นเเบลนด์ และโอลิวีน แต่ผลึกแร่เล็กละเอียดมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและยังไม่ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ |
บริเวณที่พบ | พบมากที่ จังหวัดจันทบุรี ตราด กาญจนบุรี แพร่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ เชียงราย และลำปาง เป็นหินที่พบว่าเกิดพลอยพวก คอรันดัม เช่น ทับทิม ไพลิน |
ประโยชน์ | ใช้ในการก่อสร้าง แต่ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าจำเป็นก็ใช้เป็นวัสดุสร้างทางได้ หินบะซอลต์ถ้าผุจะกลายเป็นดินที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก และยังเป็นหินประดับได้ |
แหล่งที่มา http://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/2548/Selectted/M102/g14-Rock/main-akkanee.html
หินออบซิเดียน
มีส่วนประกอบหลักเป็นสารซิลิกา มีความวาวแบบแก้วและมีหลายสีมีทั้งดำ เทา (มักมีแถบสีน้ำตาล) น้ำตาล เขียว น้ำเงิน และเขียวน้ำเงิน แต่สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดงหาได้ยาก สีเหล่านี้เกิดจากมลทินที่แทรกอยู่ในเนื้อหิน อาจมีแมกนีไทท์ เฮมาไทดต์หรืออื่น ๆ สีของมันอาจสม่ำเสมอหรืออาจมีลายปนอยู่ก็ได้ ออบซิเดียน สีดำก็อาจมีสีเทาโปร่งแสงให้เห็นอยู่ตรงส่วนขอบได้ด้วย นอกจากนี้แล้วออบซิเดียน อาจปรากฏให้เห็นเหลือบสีสวย ๆ ได้อีกด้วย อาจเป็นสีทอง สีเงิน น้ำเงิน ม่วงเขียวหรืออาจเห็นทุกสีปรากฏอยู่พร้อม ๆ กันก็ได้ เหลือบสีเหล่านี้เกิดจากฟองอากาศขนาดเล็กซึ่งมักจะเรียงตัวขนานกัน ทำให้เกิดประกายแสงและสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นประกายสีทองนั้น พบได้บ่อยกว่าและที่เห็นเป็นประกายสีเงินนั้นเกิดจากมลทินรูปเข็ม ในอดีตออบซิเดียน มักถูกนำมาใช้เป็นทั้งอาวุธ ทั้งภาชนะและเครื่องประดับ โดยเฉพาะในยุคหินมักนำเอามาทำเป็นอาวุธ เพราะมันค่อนข้างแข็งและมีรอยแตกที่คม และในสมัยที่อิรักเจริญรุ่งเรือง เมื่อ 7,000 ปีก่อนโน้นก็ได้นำเอาออบซิเดียน สีดำมาร้อยเข้ากับเปลือกหอยเบี้ย เพื่อทำสร้อยประคำ ซึ่งถือเป็นเครื่องประดับชิ้นแรกของโลกก็ว่าได้ นอกจากนี้แล้วในศตวรรษที่ 16 ที่เม็กซิโก ก็ยังมีการนำเอาออบซิเดียน มาทำเป็นทั้งมีดและหัวลูกธนูและในยุคปัจจุบัน อาจเอามาทำเป็นรูปแกะสลัก วัตถุ สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาหรือเครื่องประดับประเภทคอสตูมก็ได้ ที่เรียกว่า “ออบซิเดียนเหิมะ” (SNOWFLAKE OBSIDIAN) นั้นคือ ออบซิเดียนที่มีลวดลายคล้ายเกล็ดหิมะอยู่ทั่วผิว เกิดจากมลทินทรงกลมที่แทรกอยู่ในเนื้อหิน โดยที่โครงสร้างของมลทินทรงกลมนั้น เกิดจากการเรียงตัวของแร่ในแนวรัศมีจึงทำให้ออบซิเดียน มีลักษณะเหมือนเกล็ดหิมะโดยปกติแล้วมักนิยมเจียระไนเป็นรูปหลังเต่า พบอยู่ในมลรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา
และที่เรียกว่า “น้ำตาอปาเช่” (APACHA TEARS) นั้นเป็นออบซิเดียน ที่มีรูปทรงกลมตามธรรมชาติ พบที่นิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ออบซิเดียน ที่นำมาทำเครื่องประดับนั้นส่วนใหญ่จะได้มาจากสหรัฐอเมริกา และจะพบอยู่ในบริเวณที่มีหรือเคยมีภูเขาไฟมาก่อน เช่น เนวาดา ฮาวาย โอเรกอนและไวโอมิง นอกจากนี้แล้วยังพบอยู่อย่างเกลื่อนกลาดในประเทศเม็กซิโก ซึ่งมักมีลายและมีเหลือบสี