การเกิดปฏิกิริยาเคมีบางปฏิกิริยาทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้
1. เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน และมีเทนที่เกิดขึ้นในปริมาณมาก เนื่องจากการกิจกรรมอันหลากหลายของมนุษย์ เมื่อได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์มีพลังงานสูงทะลุผ่านชั้นก๊าซเรือนกระจก เมื่อผิวโลกร้อนขึ้นจะคายพลังงานความร้อนในรูปของรังสีอินฟาเรด ซึ่งมีพลังงานต่ำไม่สามารถทะลุผ่านชั้นก๊าซเรือนกระจกออกไปได้ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น คาดว่าอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้าอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้น 1- 5 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่ก๊าซที่ทำให้เกิดชั้นเรือนกระจก ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกได้ถึง 57 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ ดังสมการ
สารเชื้อเพลิง + ก๊าซออกซิเจน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ + ไอน้ำ
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. โรงงานอุตสาหกรรม
2. การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ
3. การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า
แนวทางในการป้องกัน
1. ควบคุมเครื่องยนต์ในยาพาหนะให้มีสภาพดี และเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพดี ลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
2. แก้ไขปัญหาจราจรหนาแน่น
3. ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องควบคุมปริมาณควันไอเสียของโรงงาน และยานพาหนะสู่บรรยากาศ
4. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า และเผาฟางข้าวในนา
5. กำจัดขยะให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการเผาขยะ
2. ก๊าซโอโซนถูกทำลาย การที่ก๊าซโอโซนถูกทำลายทำให้บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
สาเหตุ เกิดจากก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องทำความเย็นทั้งหลาย ใช้ในการผลิตโฟม สารขับดันในกระป๋องสเปรย์ เป็นต้น โดยไปทำลายโอโซน (O3) ที่ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นรังสีที่มองไม่เห็น
ผลกระทบ เกิดรูโหว่ของบรรยากาศชั้นโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตผ่านบรรยากาศของโลกได้มากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ถ้ามนุษย์ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก ทำลายสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ผลผลิตลดลง สารพันธุกรรมและเนื้อเยื่อถูกทำลาย เป็นต้น
แนวทางในการป้องกัน
1. ใช้ก๊าซมีเทนและก๊าซเพนเทนในการผลิตโฟมแทนก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน
2. เปลี่ยนสารขับดันในกระป๋องสเปรย์จากก๊าซคลอฟลูออโรคาร์บอนเป็นน้ำหรือสารอื่นแทน
3. ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง เช่น การเผาไหม้ในที่อับอากาศ เป็นต้น ส่วนใหญ่มาจากท่อไอเสียรถยนต์
ผลกระทบ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปขัดขวางการทำงานของเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน (O2) การรวมตัวของเม็ดเลือดแดง (Hb) กับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ถูกนำไปใช้ลดลง ถ้าร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
แนวทางในการป้องกัน
1. ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ในยานพาหนะให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
2. ป้องกันปัญหาการเกิดจราจรหนาแน่นและรถติด
3. ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนและรถไฟ ให้เพียงพอในการให้บริการประชาชน เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
4. ฝนกรด เกิดจากน้ำฝนในธรรมชาติเป็นตัวทำละลายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด
สิ่งที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ เช่น เกิดจากการระเบิดภูเขา การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ การเผาไหม้ถ่านหิน เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน ฟ้าแลบฟ้าผ่า เป็นต้น
ผลกระทบ ฝนกรดจะเกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ถ้าเกิดเป็นปริมาณมากหรือได้รับเป็นเวลานาน พืชอาจตายได้ นอกจากนี้สิ่งก่อสร้างที่เป็นโลหะและหินอ่อนจะถูกทำลาย
แนวทางในการป้องกัน
1. ควบคุมการปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าให้มีการจำกัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออไซด์และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ก่อนกำจัดออกสู่บรรยากาศ
2. ควบคุมเครื่องจักรกลของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ และเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ
3. ใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำไหลแทนการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล เป็นต้น
5. อันตรายจากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี เกิดการรั่วไหลของรังสีที่นำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใช้ทางการแพทย์ ทางอุตสาหกรรม ทางการเกษตร เป็นต้น ถ้าไม่ระมัดระวังอาจเกิดการรั่วไหลของรังสีและเกิดเป็นอันตราย เนื่องจากรังสีสามารถทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์ตายและอาจสูญเสียอวัยวะหรือชีวิตได้
แนวทางในการป้องกัน
1. ต้องตรวจสอบสภาพของที่เก็บรังสีให้อยู่ในสภาพปลอดภัย
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของสารกัมมันตรังสี และห้าไม่ให้บุคคลเข้าใกล้บริเวณที่มีรังสีมาก
การใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ในชีวิตประจำวันจะต้องเกี่ยวข้องกับสารต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราจัดเป็นสารประกอบทั้งสิ้น เมื่อนำมาใช้ประโยชน์อาจจะทำให้เกิดผลกระทบ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ใช้ในปริมาณมากเกินไป ใช้แล้วไม่จัดเก็บให้เหมาะสม หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับสารนั้น เพื่อให้การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัยควรปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารที่จะใช้ วิธีใช้และจัดเก็บรักษา เช่น สารที่เป็นยาฆ่าแมลงหรือสารประเภทสเปรย์ควรเก็บไว้ในที่ห่างไกลจากความร้อน เนื่องจากอาจระเบิดได้ และควรเก็บไว้ในที่ที่เด็กหยิบไม่ถึง
2. ก่อนใช้สารเคมีทุกชนิดต้องอ่านฉลากเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้สาร
3. ไม่ควรใช้สารเคมีมากเกินไปและไม่ทิ้งสารเคมีในที่สารธารณะหรือกองขยะ ควรแยกทิ้ง โดยใส่ถุงสีน้ำเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเก็บไปทำลายได้ถูกต้อง และถ้ามีปริมาณมากต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เทศบาลหรือสุขาภิบาลให้นำไปทำลาย
4. ควรรู้จักสัญลักษณ์เกี่ยวกับสารที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตราย เช่น
|
หมายถึง ระวังอันตรายจากสารกัมมันตรังสี ควรหลีกเลี่ยง
|
|
หมายถึง วัตถุมีพิษห้ามรับประทาน |
|
หมายถึง ระวังวัสดุไว้ไฟ ห้าเข้าใกล้เปลวไฟ |
|
หมายถึง ระวังอันตรายจากเชื้อโรค |
|
หมายถึง ระวังสารกัดกร่อน เช่น กรด เบส |
5. ถ้ามีการกลืนสารพิษประเภทยาฆ่าแมลงให้ดื่มนมสดหรือกินไข่ดิบ เพื่อทำให้เกิดการตกตะกอนของสารพิษและอาเจียน หลังจากนั้นจึงนำส่งโรงพยาบาล
6. ถ้าถูกสารเคมีให้รีบล้างน้ำสะอาดทันที
7. ไม่ควรกำจัดขยะประเภทพลาสติกโดยการเผา เนื่องจากเกิดไอเป็นพิษ
8. สารประเภทโลหะเมื่อใช้แล้วควรเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
ข้อมูลจาก http://school.obec.go.th/padad/scien32101/Matter/2Matter.html